โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ก่อตั้งเมื่อวันที่๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ประวัติฝ่ายวิชาการหลักสูตรและการสอน
ดังนั้น งานด้านวิชาการโดยเฉพาะด้านหลักสูตรและการสอนจึงถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่งต่อ
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การบริหารงานฝ่ายต่างๆ ในระยะเริ่มแรกเป็นแบบเบ็ดเตล็ด
อยู่ที่อาจารย์ใหญ่แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระยะเริ่มต้นมีอาจารย์
ใหญ่ที่ทรงความรู้และอุทิศชีวิตการทำงานทุ่มเทเวลา เพื่อโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แก่ ศาสตราจารย์อำไพ สุจริตกุล ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ เป็นต้น
การแบ่งระดับชั้น และการจัดหลักสูตร
ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๑๒)
ท่านเป็นผู้บริหารท่านแรกในประเทศไทย ที่เริ่มทดลองการแบ่งระดับชั้นเรียนเป็น ระบบ ๖ : ๓ : ๓
คือ
ระดับประถมศึกษา ๖ ปี
(ประถมต้นป.๑ – ป.๓ และประถมปลาย ป.๔ – ป.๖)
ระดับมัธยมศึกษา ๖ ปี โดยแบ่งเป็น
ระดับมัธยมต้น ๓ ปี (ป.๗ – ม.๒)
ระดับมัธยมปลาย ๓ ปี (ม.๓ – ม.๕)
ในด้านหลักสูตร ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ได้ให้เพิ่มชั่วโมงเรียนในระดับมัธยม
ศึกษาปีที่ ๒ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
เป็นวิชาเลือก นักเรียนจะได้มีโอกาสสำรวจตนเองว่ามีความถนัดด้านการเรียนด้านใด เพื่อเตรียมตัว
เลือกเรียนแผนการเรียนศิลป์ หรือ วิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นับได้ว่าโรงเรียน
สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้นำในการใช้หลักสูตร และ การแบ่งระดับชั้นเรียนระบบ
๖ : ๓ : ๓ ก่อนที่กระทรวงศึกษาธิการจะนำรูปแบบนี้มาใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ได้กำหนดหลักสูตรของ
โรงเรียนไว้ดังนี้ ให้มีเวลาเรียนมากกว่าที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้สัปดาห์ละ ๕ คาบ และแบ่ง
แผนการเรียนเป็น ๓ แผน ได้แก่
๑. แผนวิทยาศาสตร์
๒. แผนศิลป์ แบ่งเป็น ๒ แผนย่อย
๒.๑ ศิลป์ – คณิต
๒.๒ ศิลป์ – ภาษา (ฝรั่งเศส/เยอรมัน)
๓. แผนทั่วไป
สำหรับแผนทั่วไปนี้จัดเพื่อให้นักเรียนที่ไม่สามารถเรียนได้ทั้งแผนวิทยาศาสตร์และแผนศิลป์
ทั้งนี้ เนื่องจากได้คะแนนไม่ดีพอ แต่มีความประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
นักเรียนแผนนี้จะเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษน้อยลง แต่ได้เลือกเรียนวิชาพิมพ์ดีดเพิ่มขึ้น
ซึ่งเท่ากับได้เพิ่มวิชาชีพให้กับนักเรียน
ส่วนนักเรียนที่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ในระดับที่เรียนต่อ ม.ศ.๔ แต่ผู้ปกครองยังคงยืนยันให้
เรียนต่อที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ก็ได้จัดให้
มีชั้น ม.ศ.๔ พิเศษ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่พิเศษคือการจัดผสมผสานความรู้ระหว่าง ม.ศ.๓ และ ม.ศ.๔
เข้าด้วยกัน ให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้เรียน ๑ ปี ถ้าสอบผ่านก็จะให้ขึ้นไปเรียนชั้น ม.ศ.๔ ในปีต่อไป
แต่หลักสูตร ม.ศ.๔ พิเศษนี้ ทดลองใช้ได้เพียงปีเดียวก็ต้องยกเลิกเพราะมีปัญหาทั้งนักเรียน และ
ผู้สอน ทั้ง ๆ ที่สามารถจัดทำเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ได้
การดำเนินงาน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม และ
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม (พ.ศ.๒๕๑๐ – ๒๕๑๓) จึงได้เริ่มมีการแบ่งการดำเนินงานของโรงเรียน
โดยมีตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ฝ่ายบริหารและผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกิจการนักเรียน สำหรับงานทาง
ด้านวิชาการ อาจารย์ใหญ่ยังคงทำหน้าที่บริหารงานวิชาการภายใต้การกำกับของคณะครุศาสตร์
ต่อไป ครั้งเมื่อ รองศาสตราจารย์อาภรณ์ ชาติบุรุษ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๑๓ –
๒๕๑๖) การดำเนินงานจึงได้แบ่งเป็น ๓ ฝ่ายอย่างชัดเจน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายกิจการนักเรียน
และฝ่ายวิชาการ โดยมี รองศาสตราจารย์มาลินี จันทวิมล เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านวิชาการ
และถือเป็นอาจารย์ท่านแรกของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่ได้ทำหน้าที่
ดำเนินงานด้านวิชาการ ทั้งการจัดแผนการเรียน ตารางสอน และการประสานงานการรับนิสิตคณะ
ครุศาสตร์ที่จะมาฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม (ปัจจุบัน คือ
ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ)
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรชัย ปูรณโชติ
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๑๘)
ผู้รับผิดชอบและจัดการงานด้านวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา อุทัยพัฒน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิระวรรณ อามระดิษ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณี มนัสไพบูลย์
รองศาสตราจารย์วารินทร์ มาศกุล
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๒๐)
ผู้รับผิดชอบและบริหารงานด้านวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณี มนัสไพบูลย์
รองศาสตราจารย์นิรมล สวัสดิบุตร
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๒๐ – ๒๕๒๒)
ผู้รับผิดชอบและบริหารงานด้านวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญชัย ภิญโญอนันตพงษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ อัตชู
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๒๒ – ๒๕๒๖)
ผู้รับผิดชอบและบริหารงานด้านวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิไล แย้มงามเหลือ ซึ่งใน
ช่วงเวลานี้กระทรวงศึกษาธิการมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็น ระบบ ๖ : ๓ : ๓ แต่ไม่มีผลกระทบ
ต่อโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากนัก เพราะโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้ทดลองหลักสูตรนี้มาก่อนแล้ว อีกทั้งยังเปิดวิชาเลือกมากมายรวมทั้งมีวิชาบังคับที่เป็นพื้นฐาน
วิชาชีพที่เรียกว่า “กรรม” อีก ๖ สาขา คือ
๑. อุตสาหกรรม
๒. พาณิชยกรรม
๓. ศิลปกรรม
๔. เกษตรกรรม
๕. ศิลปหัตถกรรม
๖. สาธารณสุข
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการเลือกวิชาพื้นฐานอาชีพได้อย่างเต็มที่ โดยอยู่ภายใต้
การแนะนำดูแลของอาจารย์ฝ่ายแนะแนว เช่น นักเรียนแผนวิทยาศาสตร์ที่ไม่เลือกเรียนวิชาชีววิทยา
(แผน ๑ข) ก็จะแนะนำให้นักเรียนเลือกเรียน “อุตสาหกรรมและศิลปหัตถกรรม” เพื่อส่งเสริมการ
สอบเข้ามหาวิทยาลัย ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ส่วนนักเรียนที่เรียนแผน
ศิลป์ – คณิต (แผน ๒ค) ก็จะแนะนำให้เลือกเรียน “พาณิชยกรรม” เพื่อจะได้สอบเข้าคณะบัญชี
หรือเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อเนกหิรัญ
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๒๖ – ๒๕๒๗)
ผู้รับผิดชอบและบริหารงานด้านวิชาการคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญชัย ภิญโญอนันตพงษ์
รองศาสตราจารย์นพพงษ์ บุญจิตราดุล
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๓๐)
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดำเนินสวัสดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรีสุธา แก้วสัมฤทธิ์
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๓๑)
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดำเนินสวัสดิ์
รองศาสตราจารย์นพพงษ์ บุญจิตราดุล
ดำรงตำแหน่งรองคณบดีปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่
(พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๕, พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๓๖ , พ.ศ.๒๕๓๖ – ๒๕๓๙)
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปนิดา ศิริกุลวิเชฐ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธรรมา บูลภักดิ์
ดำรงตำแหน่งรองคณบดีและผู้อำนวยการ (พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๔)
ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ชั่งใจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ศรีประเสริฐ
อาจารย์ชูชัย รัตนภิญโญพงษ์
ดำรงตำแหน่งรองคณบดีและผู้อำนวยการ (พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๔๘)
ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงกมล สินเพ็ง
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณา วุฒฑะกุล
อาจารย์ประสพสรรพ์ กมลยะบุตร
รองศาสตราจารย์วีระชาติ สวนไพรินทร์
ดำรงตำแหน่งรองคณบดีและผู้อำนวยการ (พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๒)
ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านหลักสูตรและการสอน คือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ชั่งใจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านหลักสูตรและการสอน คือ
อาจารย์ธาริณี วิทยาอนิวรรตน์
อาจารย์ชูชัย รัตนภิญโญพงษ์
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองคณบดี (พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๔)
ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและการสอน คือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นววรรณ วุฒฑะกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและการสอน คือ
อาจารย์ปรารถนา เกษน้อย
อาจารย์พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์
อาจารย์น้ำผึ้ง ศุภอุทุมพร
อาจารย์วันชัย เมฆหิรัญ
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองคณบดี (พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๕๖)
ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและการสอน คือ
อาจารย์เรวดี หิรัญ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและการสอน คือ
อาจารย์อภันตรี ศรีปานเงิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ชั่งใจ
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองคณบดี (พ.ศ.๒๕๕๖ – ปัจจุบัน)
ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและการสอน คือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา ทิมสถิตย์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หลักสูตรและการสอน คือ
อาจารย์อภันตรี ศรีปานเงิน
อาจารย์ทัศนีย์ ศรีพิพัฒน์
อาจารย์พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร
จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช
๒๕๔๔ ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ เกี่ยวกับแนวทาง
การพัฒนาคนในสังคมไทยและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่๒๑
จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของ
หลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติโดยได้มีการกำหนด
วิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับ
นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ อีกทั้งได้ปรับ
กระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ ด้วยเหตุผลดังกล่าว
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จึงได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน
การเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
สำหรับประกาศใช้เป็นหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
ปีการศึกษา ๒๕๕๓
ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม พุทธศักราช
๒๕๕๓ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ปีการศึกษา ๒๕๕๔
ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม พุทธศักราช
๒๕๕๓ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และ ๕
ปีการศึกษา ๒๕๕๕
ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม พุทธศักราช
๒๕๕๓ ในทุกระดับชั้น