1. หลักการและเหตุผล
คำพูดที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8บรรทัด” เป็นคำพูดที่กระทบความรู้สึกวงการการศึกษาไทยเป็นอย่างมากเพราะเป็นการตอกย้ำว่าคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ อ่านแค่หัวข้อ แล้วตีความเองซึ่งเป็นการตีความที่ผิดๆ โดยการอ่านหนังสือ ไม่เพียงแต่ให้ความรู้เพิ่มพูนปัญญาแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง รวมถึงเป็นการฝึกสมาธิเพิ่มประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์อีกด้วยซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยเพิ่มขึ้นถึงเกือบเท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยปี 2554 มีสถิติที่ 35นาทีต่อวัน และเพิ่มเป็น 66 ปีต่อวันในปี 2559 [1] อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของมหาวิทยาลัย Central Connecticut Statein New Britain ของสหรัฐในปี 2559พบว่าประเทศในแถบนอร์ดิกติดมีอัตราการรู้หนังสือและการอ่านมากที่สุดในโลก โดยอันดับ 1 เป็นของฟินแลนด์ตามด้วยไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก ขณะที่ประเทศไทย อยู่ถึงอันดับที่ 56 จากการสำรวจ 61ประเทศเลยทีเดียว [2] โดยเฉพาะเด็กๆในชนบทส่วนใหญ่ โอกาสที่ผู้ปกครองจะจัดหาซื้อหนังสือมาให้อ่านมีน้อยโดยเฉพาะหนังสืออ่านนอกเวลาเพื่อให้นักเรียนในชุมชนห่างไกลมีโอกาสพัฒนาทักษะการอ่าน ผู้จัดทำจึงรู้สึกตระหนักถึงปัญหาตรงนี้จึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะร่วมปลูกฝังความรักการอ่านหนังสือให้แก่นักเรียนในชนบทห่างไกลที่มีการขาดแคลนหนังสืออ่านนอกเวลาต่างๆ ด้วยการจัดโครงการ“หนังสือนอกเวลาเพื่อน้อง” ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กนักเรียนในชนบทห่างไกลได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการอ่านเป็นการกระจายความรู้และสื่อการศึกษาสู่ชุมชนท้องถิ่น
2.2 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ บุคลากรในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองมีโอกาสร่วมทำจิตอาสาบริจาคหนังสือสภาพดีที่ไม่ใช้แล้วแก่ผู้ด้อยโอกาส
3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
จำนวนหนังสือที่ได้รับบริจาคไม่ต่ำกว่า100เล่มและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 15 ใบ
4. วิธีดำเนินการ
4.1 นำเสนอโครงการต่ออาจารย์ผู้สอนวิชาพื้นฐานห้องสมุดแสนสาร (สนเทศ)
4.2 นำเสนอโครงการผ่านการประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิชาการหลักสูตรและการสอน
4.3 นำเสนอโครงการถึงท่านผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
4.4 นำเสนอโครงการผ่านเว็บไซด์โรงเรียน เว็บไซด์ห้องสมุดหน้าเสาธง ผ่านอาจารย์ประจำชั้น และผ่านป้ายประชาสัมพันธ์
4.5 เตรียมกล่องรับบริจาคและจัดวางบริเวณหน้าห้องสมุดฯ
4.6 ทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริจาคหนังสือ
4.7 นำกล่องรับบริจาคหนังสือวางไว้ที่ห้องสมุดแสนสาร (สนเทศ) และหน้าประตูโรงเรียนโดยหนังสือที่รับบริจาค จะเน้นไปที่หนังสืออ่านนอกเวลา การ์ตูนความรู้และนิทานสภาพดี
4.8 รวบรวมหนังสือที่ได้รับบริจาค
4.9 นำไปมอบให้โรงเรียนชนบท
4.10 สรุปผลแบบประเมิน
5. ระยะเวลาของโครงการ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
6. สถานที่ดำเนินการ
ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม
7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
7.1 ด.ญ.ทักษพร แสงแห่งธรรม ม.1/3
7.2 ด.ญ.บุญญาภา สถิตยุทธการ ม.1/3
7.3 ด.ช.พรรษ ภัทรกุลวณิชย์ ม.1/3
7.4 ด.ช.ธนวรรธน์ เกริกกวิน ม.1/5
7.5 ด.ช.ธนภัทร ดีสุวรรณ ม.1/5
7.6 ด.ช.เสฎฐวุฒิ สุวรรณทวีศรี ม.1/7
7.7 หน่วยห้องสมุด โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ บุคลากรในโรงเรียนรวมถึงผู้ปกครองมีโอกาสทำจิตอาสาร่วมกัน
8.2 เด็กนักเรียนในชนบทห่างไกลได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการอ่านเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการรักการอ่าน
9. งบประมาณ
ไม่มีค่าใช้จ่าย