[15 สิงหาคม 2555]

โครงการ CUD’s Columnist Junior of ASEAN

 

 ๑.หลักการและเหตุผล

            ปัจจุบันมีความตื่นตัวในเรื่องประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ เราจะทำอย่างไรเพื่อ

เป็นการเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นอาเซียนได้ หากเรามิได้เริ่มจากการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันของเรา

เพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่โดยตรงในการสร้างและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีศักยภาพในระดับที่สามารถแข่งขันกับ

เยาวชนในอีก ๙ ประเทศได้ ถ้านับระยะเวลาโดยประมาณก็เหลือเวลาอีกประมาณ ๓ ปีเท่านั้น

      การอ่านเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาหาความรู้ยิ่งต่อไปประเทศไทยจะต้องรวมกับอีก ๙ ประเทศห้องสมุดให้

ความสำคัญต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโดยมีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้และยังจัด

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านมากมายหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้มากที่สุด

  ห้องสมุดจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่นักเรียนโดยอยู่ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับ

ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยให้นักเรียน

สวมบทบาทเป็นนักเขียนควบคู่กับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน ภาพประกอบ

และแหล่งที่มาของข้อมูล ดังนั้นห้องสมุดเห็นถึงความสำคัญของการอ่านและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

จึงควรจัด โครงการ CUD’s Columnist Junior of ASEAN” เพื่อส่งเสริมการอ่านและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 

 ๒.วัตถุประสงค์

๑. เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

. เพื่อให้นักเรียนทุกคนเตรียมความพร้อมในการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยการศึกษาถึงข้อมูลในประเทศสมาชิกอาเซียน

๓. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองด้วยการสร้างสรรค์ออกแบบ

 ๓.  เป้าหมาย

นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม

 ๔.วิธีดำเนินการ

๑. นำเสนอโครงการผ่านการประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิชาการหลักสูตรและการสอน

๒. นำเสนอโครงการถึงท่านผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม

๓. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านประกาศในเว็บไซต์โรงเรียน เว็บไซต์ห้องสมุดหน้าเสาธง ผ่านทางอาจารย์ประจำชั้นและป้ายประชาสัมพันธ์

๔.ส่งผลงานได้ที่ห้องสมุด หมดเขตการส่งผลงานในวันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕

๔.รางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ ๑ และ ๒ แยกเป็นระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจะได้รับประกาศนียบัตรจากผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหลักสูตรและการสอน

เกณฑ์การประเมิน ข้อกำหนดผลงาน และรูปแบบในการส่งผลงาน

- เกณฑ์ประเมินผลงานที่ถูกส่งเข้าประกวดจะได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการโดยใช้เกณฑ์การตัดสินดังนี้

* ความถูกต้องของเนื้อหาและแหล่งที่มาของเนื้อหา

* ความคิดสร้างสรรค์และความสวยงาม

- ข้อกำหนดผลงาน

*ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานอื่น ๆ มาก่อน

*การส่งผลงานต้องส่งผลงานในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น

*สามารถออกแบบโดยการวาดด้วยมือ หรือ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดฟอนต์ไม่ต่ำกว่า๒๐

*นักเรียน ๑ คน สามารถส่งผลงานได้ไม่จำกัด

* ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด

- รูปแบบในการส่งผลงาน

* นำเสนอผลงานลงในกระดาษ A๔ จำนวน ๑ แผ่น โดยต้องมีรายละเอียดในการนำเสนอผลงานคือ 

ข้อมูล ภาพประกอบ และแหล่งที่มาของข้อมูล    

 ๕.  ระยะเวลาของโครงการ

          ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕  – ๗ กันยายน ๒๕๕๕

 ๖.  สถานที่จัด

          ณ โถงโรงอาหารอาคารอนกประสงค์

 ๗.ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑.หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

๒.ผู้แทนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย      (อาจารย์สุพัตรา อุตมัง)

๓.หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

๔.ผู้แทนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ           (อาจารย์สาทรเจริญภักดี)

๕.หน่วยห้องสมุด โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

 ๘.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน

๒. นักเรียนทุกคนมีความพร้อมในการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

๓. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองด้วยการสร้างสรรค์ออกแบบ

 ๙.งบประมาณ

          - ไม่มีค่าใช้จ่าย

< ย้อนกลับ