นักเขียนระดับประถมศึกษา
เลือกเขียนบทความ ๒ หัวข้อตามความสนใจ ได้แก่
๑.“ผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อมที่ฉันอยากทำ”
นิยามหัวข้อ ให้นักเรียนกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ ตนเองอยากทำ เช่น โคมไฟประดิษฐ์จากขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว เป็นต้น โดยกล่าวถึงวัตถุดิบที่ใช้ทำ การผลิต การจำหน่ายและผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมอย่างไร
๒.“ธุรกิจสิ่งแวดล้อมในชุมชนฉัน”
นิยามหัวข้อ ให้นักเรียนกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง เช่น ธุรกิจปลูกผักเกษตรอินทรีย์ สวนผักผลไม้ปลอดสารพิษ หรือสถานีน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น
นักเขียนระดับมัธยมศึกษา
เลือกเขียนบทความ ๒ หัวข้อตามความสนใจ ได้แก่
๑.“แบบอย่างในการดำเนินธุรกิจห่วงใยสิ่งแวดล้อม”
นิยามหัวข้อ ให้นักเรียนกล่าวถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เห็นเป็นแบบอย่างในการ ดำเนินธุรกิจที่มีความห่วงใยสิ่งแวดล้อม อาจเป็นบุคคลในท้องถิ่น บุคคลที่มีชื่อเสียงระดับประเทศหรือระดับโลก นักธุรกิจหรือชาวต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญระดับโลก หรือเป็นบริษัทที่มีบทบาทชัดเจนในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับกา รดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
๒.“ความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจควบคู่สิ่งแวดล้อม”
นิยามหัวข้อ ให้นักเรียนกล่าวถึงความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการ รักษาสิ่งแวดล้อมว่ามีความสำคัญต่อท้องถิ่น ต่อชาติ และต่อโลกอย่างไร หากธุรกิจนั้นไม่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมจะเกิดผลเสียหายใด ขึ้น เป็นต้น
รางวัล
๑. รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา ๔,๐๐๐ บาท จำนวน ๔ รางวัล
๒. รางวัลรองชนะเลิศ ทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท จำนวน ๔ รางวัล
๓. รางวัลชมเชย ทุนการศึกษา ๑,๐๐๐ บาท จำนวน ๒๐ รางวัล
กติกา
๑. บทความที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเขียนขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ลอกเลียนตัดต่อมาจากที่อื่น หากยกคำพูดหรือข้อความใดๆ ต้องระบุที่มา และงานเขียนนั้นต้องไม่เคยได้รับรางวัลมาก่อน
๒. ความยาวไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A4 ตัวอักษรพิมพ์ขนาด ๑๖ พอยต์ หรือเขียนด้วยลายมือบรรจง
๓. ไม่ต้องมีภาพประกอบ
๔. การให้คะแนนพิจารณาจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ถ้อยคำสละสลวย ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์วางขอบเขตเนื้อหาตามหัวข้อที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสม
วิธีส่งผลงาน
ส่งผลงานตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมดเขตรับผลงานวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ทางอีเมลที่ wariya@tei.or.th จ่าหัวเรื่อง (subject) ว่า “นักเขียนรุ่นเยาว์”